คำศัพท์น่ารู้สำหรับผู้เริ่มทำ SEO
วันนี้เราได้รวบรวมคำศัพท์เกี่ยวกับ SEO พร้อมคำอธิบายมา หวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่เริ่มต้นทำ SEO ไม่มากก็น้อย
◆Internal link
ลิงค์ที่เชื่อมโยงภายในเว็บไซต์
◆External link (Backlink)
ลิงค์เชื่อมโยงจากภายนอกเว็บไซต์
◆Breadcrumb
ส่วนที่บอกตำแหน่งของหน้าเว็บไซต์ที่ยูสเซอร์ดูในขณะนั้น
มักอยู่ในรูปแบบของลิงค์เชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ (Internal link)
ตัวอย่างเช่น
HOME>Company Profile>Achievements
◆Navigation
ลิงค์เชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ซึ่งนำทางยูสเซอร์ไปยังหน้าเป้าหมาย สามารถเรียกอีกอย่างว่า Global navigation ก็ได้
Navigation bar มักเป็นส่วนที่รวบรวมลิงค์หลักๆ ของเว็บไซต์ ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นเว็บไซต์ของบริษัท อาจประกอบด้วย
“Our Services” “About Us” “IR Information” “Job Opportunity”
นอกจากนั้น Navigation ยังเป็นส่วนที่จำเป็นสำหรับการใช้งานของยูสเซอร์และยังเป็นส่วนที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมโยงของลิงค์ภายในเว็บไซต์อีกด้วย
◆Anchor text
ข้อความที่ถูกกำหนดให้เป็นลิงค์ เมื่อคลิกที่ตัวข้อความ ก็จะถูกส่งไปยังหน้าปลายทาง
เสิร์ชเอ็นจิ้นจะพิจารณาเนื้อหาของเว็บไซต์ปลายทางจากข้อความใน Anchor text
แต่การที่ใช้ลิงค์ด้วย Anchor text เฉพาะคีย์เวิร์ดที่ทำ SEO หรือคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องนั้น
อาจถูกเสิร์ชเอ็นจิ้นมองว่าไม่เป็นธรรมชาติได้ จึงอาจให้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม
◆Rich snippets
ฟังก์ชันที่แสดงข้อมูลในผลการค้นหาของกูเกิล เช่น “คำอธิบาย”
“คะแนนจากยูสเซอร์” “จำนวนรีวิว” “ช่วงราคา”
การใช้ Rich snippets จะช่วยให้ยูสเซอร์เข้าใจได้ง่ายว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง
อยู่ในหน้าเว็บไซต์นั้น ซึ่งอาจจะช่วยเพิ่มจำนวน Pageview หรือจำนวนยูสเซอร์
ที่คลิกเข้ามาผ่านผลการค้นหาได้
◆Search Volume
จำนวนการค้นหาของคีย์เวิร์ดนั้นๆ Search Volume ถือเป็นข้อมูลตัวเลขที่มีประโยชน์มากในการอ้างอิง
สำหรับกำหนดคีย์เวิร์ดในการทำ SEO ให้กับหน้าเว็บไซต์ เพราะว่าเป็นจำนวนความต้องการในการค้นหาของคีย์เวิร์ดนั้นๆ
◆iframe (Inline frame)
รูปแบบการแสดงเนื้อหาจากหน้าเว็บไซต์อื่นมาไว้ในหน้าเว็บไซต์ 1 หน้า
Crawler ของเสิร์ชเอ็นจิ้นไม่สามารถอ่านข้อมูลที่แสดงอยู่ใน Inline frame ได้
จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ Inline frame เพื่อให้ Crawler จดจำเนื้อหาได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
◆JavaScript
ภาษาโปรแกรมมิ่งชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับการสร้างการเคลื่อนไหวโต้ตอบให้กับหน้าเว็บไซต์
Crawler ของเสิร์ชเอ็นจิ้นไม่สามารถอ่านข้อมูลที่เขียนโดย JavaScript ได้เช่นเดียวกับ iframe
หากจำเป็นต้องใช้เพื่อการใช้งานของยูสเซอร์หรือเพราะลูกเล่นและความสวยงาม
ก็ควรเขียนเนื้อหาที่สำคัญในหน้านั้นด้วยเท็กซ์ธรรมดาเพื่อให้ Crawler สามารถอ่านได้
◆Dynamic URL
URL ที่เกิดโดยอัตโนมัติเมื่อได้รับข้อมูลจากฐานข้อมูลซึ่งมักจะมีเครื่องหมาย “?” “=” “&” รวมอยู่ด้วย
การใช้ Dynamic URL จะทำให้เกิดหน้าเว็บหลายหน้าแต่มีเนื้อหาซ้ำกันได้ โดย Duplicate Contents (คอนเทนท์ซ้ำกัน)
นี้อาจจะส่งผลลบต่อโคงสร้างเว็บไซต์เวลาทำ SEO ได้
◆Static URL
URL ที่คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งตรงข้ามกับ Dynamic URL
โดยปกติแล้ว Crawler ของเสิร์ชเอ็นจิ้นจะเข้ามาอ่าน Static URL ได้ง่ายกว่า Dynamic URL
Static URL จึงเหมาะที่จะใช้ทำ SEO มากกว่า Dynamic URL